• สำนักงานเทศบาลตำบลแม่ไร่ 272 หมู่ 8 ตำบลแม่ไร่ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย 57240
  • +66 053-667-505

วิสัยทัศน์-ยุทธศาสตร์

เมืองแห่งการพัฒนา คิดอย่างสร้างสรรค์ ยึดมั่นธรรมาภิบาล

เมืองแห่งการพัฒนา หมายถึง การพัฒนาทั้ง 7 ยุทธศาสตร์ของแผนพัฒนาท้องถิ่น เช่น การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค  การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 

การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ  การพัฒนาด้านสาธารณสุข  การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

การพัฒนาด้านสังคม และการพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร  โดยหลักเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการพัฒนา

ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง  และความไม่ประมาท  โดยคำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวตลอดจนใช้ความรู้ความรอบคอบ และคุณธรรม ประกอบการวางแผน 

การตัดสินใจและการกระทำ

คิดอย่างสร้างสรรค์ หมายถึง บุคลากรในทุกระดับมีทัศนคติ และมุมมองในการทำงานที่ยึดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และมีความคิดบวก คิดพัฒนา มีผลงานการสร้างสรรค์องค์ความรู้ นวัตกรรม เพื่อการส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และการหนุนเสริมจนเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศ

ยึดมั่นธรรมาภิบาล  หมายถึง บุคลากรทุกระดับยึดมั่นในหลักการทำงานบนฐานธรรมาภิบาล คือยึดหลักการของนิติธรรม มีคุณธรรม มีความโปร่งใส มีส่วนร่วม มีความรับผิดชอบ และความคุ้มค่าในการปฎิบัติราชการ

           2.2 ยุทธศาสตร์

           ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6 การพัฒนาด้านสังคม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๗ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

2.3 เป้าประสงค์

๑. ยกระดับคุณภาพการศึกษาของเด็ก เยาวชนและประชาชน

๒. ส่งเสริมการเรียนรู้ ให้ประชาชนได้รับการศึกษาอบรม

๓. พัฒนาคุณภาพชีวิต ศักยภาพของคน และสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

๔. ราษฎรมีรายได้เพิ่มมากขึ้น และประกอบอาชีพโดยสุจริต

๕. ราษฎรดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

๖. ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

๗. การวางผังเมืองได้มาตรฐาน

๘. ทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสมบูรณ์

๙. พัฒนางานสาธารณสุข และอนามัยชุมชนให้ราษฎรมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

๑๐. ทำนุบำรุงศาสนา วัฒนธรรม และสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่ท้องถิ่น

๑๑. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎร

๑๒. พัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาส

๑๓. การบริหารราชการ โดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยประชาชนมีส่วนร่วม

 2.4 ตัวชี้วัด

           ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

- จำนวนที่เพิ่มขึ้นของระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- ชุมชนมีการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกสุขลักษณะ และระดับความสำเร็จของการแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย จำนวนพื้นที่สีเขียวเพิ่มมากขึ้น

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

- ร้อยละเพิ่มขึ้นของครัวเรือนที่มีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ และดำรงชีพตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข

- ร้อยละของประชาชนที่ได้รับการส่งเสริมและดูแลสุขภาพอนามัยการระบาดของโรคติดต่อไม่เกินค่ามาตรฐาน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

          - ร้อยละของเด็ก และเยาวชนในพื้นที่ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          - ร้อยละของประชาชนในพื้นที่ได้รับการส่งเสริมการเรียนรู้

          - จำนวนกิจกรรมเพื่อทำนุบำรุงศาสนา สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6 การพัฒนาด้านสังคม

- ร้อยละของสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสได้รับการส่งเสริมพัฒนาอย่างเหมาะสม

-  ระดับความสามารถในการแก้ไขปัญหาอาชญากรรมและยาเสพติด

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๗ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

- ระดับความสำเร็จของการบริหารราชการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยประชาชนมีส่วนร่วม และระดับความสำเร็จของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในพื้นที่

          2.5 ค่าเป้าหมาย

          ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

ระบบสาธารณูปโภค สาธารณูปการและระบบโครงสร้างพื้นฐานอื่น ที่ได้มาตรฐานและเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสมบูรณ์

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

1.  พัฒนาคุณภาพชีวิต ศักยภาพของคนและสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

2.  ราษฎรมีรายได้เพิ่มมากขึ้นและประกอบอาชีพโดยสุจริต

3.  ราษฎรดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลง

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข

พัฒนางานสาธารณสุขและอนามัยชุมชนให้ราษฎรมีสุขภาพดีทั้งกายและใจ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

1. ยกระดับคุณภาพการศึกษาของเด็ก เยาวชน และประชาชน

2. ส่งเสริมการเรียนรู้ให้ประชาชนได้รับการศึกษาอบรม

3. ทำนุบำรุงศาสนา วัฒนธรรมและสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้อยู่คู่ท้องถิ่น

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6 การพัฒนาด้านสังคม

1.  พัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการ และผู้ด้อยโอกาสได้รับการพัฒนาอย่างเหมาะสม

2.  ชุมชนไม่มีอาชญากรรมและยาเสพติด

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๗ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

๑. เทศบาลตำบลแม่ไร่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการปฏิบัติราชการ และการบริหารราชการโดยยึดหลักธรรมาภิบาล โดยประชาชนมีส่วนร่วม

๒. ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของราษฎรเพิ่มมากขึ้น

2.6  กลยุทธ์

          ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 1 การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค

1.1  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า และทางระบายน้ำ

1.2  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการพัฒนาและปรับปรุงระบบไฟฟ้าแสงสว่างและการจราจรในพื้นที่

1.3    กลยุทธ์การพัฒนาด้านการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาระบบประปาและจัดให้มีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค

1.4  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการก่อสร้างและบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคอื่น

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 2 การพัฒนาด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

2.1    กลยุทธ์การพัฒนาด้านการสร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการจัดการและรักษาทรัพยากรธรรมชาติฯ

2.2   กลยุทธ์การพัฒนาด้านการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาและพัฒนาแหล่งกักน้ำ และการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ

2.3  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการจัดการบำบัด และแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล

2.4  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการปรับปรุงภูมิทัศน์และสิ่งแวดล้อมในพื้นที่

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 3 การพัฒนาด้านเศรษฐกิจ

3.1  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการพัฒนาและส่งเสริมอาชีพให้แก่ประชาชน

3.2    กลยุทธ์ส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนในท้องถิ่นใช้ระบบสหกรณ์เป็นกลไกในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของชุมชน/หมู่บ้าน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 4 การพัฒนาด้านสาธารณสุข

4.1  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการป้องกันและระงับโรคติดต่อ

4.2  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการส่งเสริมสาธารณสุข

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 5 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

5.1 กลยุทธ์การพัฒนาด้านการส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาและการเรียนรู้

๕.๒ กลยุทธ์การพัฒนาด้านการส่งเสริมสนับสนุนการศาสนา

5.3  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการส่งเสริมสนับสนุนวัฒนธรรมประเพณี

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ 6 การพัฒนาด้านสังคม

6.1   กลยุทธ์การพัฒนาด้านการก่อสร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาสนามกีฬา ที่ออกกำลังกาย และสวนสาธารณะ

6.2  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด

6.3    กลยุทธ์การพัฒนาด้านการส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมเพื่อพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้พิการผู้ด้อยโอกาส

6.4  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการสังคมสงเคราะห์และสวัสดิการสังคม

ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ ๗ การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร

7.1   กลยุทธ์การส่งเสริมความจงรักภักดีและสนับสนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

7.2   กลยุทธ์การพัฒนาด้านการส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการบริหารงานเทศบาลของประชาชนและเพิ่มช่องทางในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารให้แก่ประชาชน

7.3  กลยุทธ์การพัฒนาด้านงานกิจการสภา

7.4  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเทศบาล

7.5  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

7.6  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการเพิ่มศักยภาพของบุคลากร

7.7  กลยุทธ์การพัฒนาด้านการบริหารงานคลัง

 

 

เว็บไซต์ที่เกี่ยวข้อง